วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บล็อกส่วนตัว นางสาวจุฑาทิพย์ ร่วมเหมาะ



ประวัติส่วนตัว

ชื่อ : นางสาว จุฑาทิพย์  ร่วมเหมาะ ชั้น ม.6/2  เลขที่ 7
อายุ : 18 ปี       ชื่อเล่น : นัท
วันเกิด : วันที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ. 2539
กรุ๊ปเลือด : O 
สัญชาติ  : ไทย
เชี้อชาติ  : ไทย
ศาสนา : พุทธ
ภูมิลำเนา : บ้านเลขที่  121 หมู่ 17 ต.ลำดวน  อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์  31160
ครูที่ปรึกษา :  1. อาจารย์ อิสรีย์  วงคง
                       2. อาจารย์ ศุภาพิชญ์   นะรารัมย์
อาชีพในฝัน : พยาบาล,ครู
มหาวิทยาลัยที่อยากศึกษาต่อ : มหาวิทยาลัยขอนเเก่น  
การศึกษา : จบมัธยมต้นจากโรงเรียนกระสังพิทยาคม
                   ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2
วิชาที่ชอบ : ภาษาไทย,สังคม
วิชาที่ไม่ชอบ : อังกฤษ
สีที่ชอบ : สีส้ม
สัตว์ที่ชอบ : สุนัข
เพลงที่ชอบ : เธอ
งานอดิเรก : ฟังเพลง อ่านหนังสือ
เพื่อนสนิท : 1. นางสาว อรวรรณ  สำรวมจิต
                    2. นางสาว ทิติยาภร  นิมินรัมย์
                    3. นางสาว สมฤดี กวดนอก
                    4. นางสาว พิมพ์นิภา  จันทนุภา
                    5. นางสาว อารีรัตน์ มีอุดหนุน
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
โทรศัพท์ : 092-5630269
E-mail : mee.kanat339@gmail.com
FB : Mee Ka'nat
Line ID : donatzaa3
IG : MEE_KANAT

แผนที่บ้าน


รูปภาพประกอบหมู่บ้าน


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ไชโป๊วผัดหวานไข่


ผักกาดหัว


            ผักกาดหัว หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า) เป็นผักที่หลายประเทศนำมาทำอาหาร อย่างอาหารญี่ปุ่นก็นิยมนำหัวไช้เท้าดิบมาขูดฝอยลงในซีอิ๊ว ใช้เป็นน้ำจิ้ม เพราะชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่วยกระตุ้นน้ำย่อย หรืออย่างชาวจีนก็นำมาแปรรูปเป็นหัวไช้โป๊ไว้ทานตลอดปี ทางด้านวงการแพทย์แผนจีนมองว่า หัวไช้เท้าอยู่ในกลุ่มหยาง (yang) คือเป็นอาหารร้อน ไม่ควรทานเวลามีไข้ ส่วนในตำรายาพื้นบ้านอินเดียแนะว่า เมื่อทานแล้วจะช่วยให้นอนหลับรวมถึงแก้โรคประสาท
การเเปรรูปผักกาดหัว
           ><หัวไชโป้ว><
                                      
        หัวไชโป้ว(Pickle turnip) หรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวาน
อาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกัน
หัวไชโป๊ว มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วย
ผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า (Raphanus sativus Linn) เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตาม
การแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว
อุปกรณ์และวิธีทำ
วัตถุดิบ 
    1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก
    2. เกลือ
    3. น้ำสะอาด
อุปกรณ์ 
   1. มีด
   2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม
   3. กระด้ง
   4. ถุงผ้า
วิธีทำ 
ก. การทำหัวผักกาดเค็ม
  1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด
  2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง
  3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว
  4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน
  5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก
  6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดด  ต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน
  7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ 7 วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้บริโภคได้ทั้งปี
ข. การทำหัวผักกาดดองหวาน
  1. นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ 2 ชั่วโมง
  2. เตรียมน้ำเชื่อม อัตราส่วนน้ำเชื่อม 1 ส่วนต่อผักกาดหัว สองส่วน น้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็กน้อย
  3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห
  4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน
  5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป
ค. การทำหัวผักกาดแก้ว
  1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ
  2. แช่น้ำปูนใสประมาณ 1 ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2 ชั่วโมง นำใส่ถุงผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก
  3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ
  4. ต้มน้ำปลา 1 ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น
  5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม
  6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมารับประทานได้
การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

  ผลิตภัณฑ์จากหัวไชโป๊ว
         ><ไชโป๊วผัดหวานไข่><

ส่วนประกอบ
   หัวไชโป๊วหวานหั่นเป็นเส้น 100 กรัม
   ไข่ 2 ฟอง
   น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
   คนอร์อร่อยชัวร์ 1 ช้อนชา
กระเทียมบุบ หรือหอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
  ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลางจนร้อน ใส่กระเทียมหรือหัวหอมแดงลงไปเจียวให้หอม
  ใส่ไชโป๊วลงไปผัดให้เข้ากัน พอให้เส้นไชโป๊วสุกพอง ปรุงรสด้วยคนอร์อร่อยชัวร์ ตามด้วยน้ำตาลทราย โดยค่อยๆ ใส่ ชิมดูให้ได้รสชาติตามต้องการ
  จากนั้นใส่ไข่ลงไปตรงกลาง พอสุกกลับไข่อีกด้าน (ไข่ขาวไข่แดงไม่ถึงกับรวมเป็นเนื้อเดียวกัน)
  แล้วผัดกลับไปกลับมาจนไข่สุก จัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟได้
  หมายเหตุ ไชโป๊วที่นำมาผัดควรชิมรสชาติก่อนว่าหวานเค็มมากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละยี่ห้อรสชาติจะไม่เหมือนกัน ถ้าเค็มมากให้ล้างน้ำสัก 1 ครั้งบีบน้ำออกให้แห้ง และชิมดูว่ารสชาติหวาน เค็มมากน้อยแค่ไหน เผื่อตอนปรุงจะได้ไม่จัดเกินไป










ที่มา
-http://pakamat3654.wordpress.com/12-
-http://www.knorr.co.th/recipes/detail/11204/1/-
-http://paicooker.blogspot.com/2013/11/blog-post_14.html
-http://www.youtube.com/watch?v=pOsKTqv8JWI